Herbarium’s Service

การขอใช้บริการพิพิธภัณฑ์พืช ศ.กสิน สุวตะพันธุ์

  • การขอเข้าศึกษาตัวอย่างพันธุ์ไม้รักษาสภาพ
    • นัดหมายล่วงหน้า ตามวัน-เวลาที่สะดวกและเหมาะสมในการเข้ามาใช้บริการพิพิธภัณฑ์พืช
      โทรศัพท์: 0-2218-5502-3 หรืออีเมล: Parinyanoot.k@chula.ac.th
  • ส่งบันทึกข้อความหรือจดหมายจากหน่วยงานเพื่อขออนุญาตเข้าศึกษาตัวอย่างพันธุ์ไม้รักษาสภาพในพิพิธภัณฑ์พืช ศ.กสิน สุวตะพันธุ์ โดยระบุชื่อผู้ศึกษา สถาบันการศึกษา หัวข้อวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย ชื่อชนิด สกุล วงศ์ หรือกลุ่มของพืชที่ต้องการศึกษา วันที่และระยะเวลาที่จะเข้ามาใช้พิพิธภัณฑ์พืช ส่งมาตามชื่อ-ที่อยู่ ดังนี้

เรียน         คณบดีคณะวิทยาศาสตร์

                                คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                                254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน

                                กรุงเทพฯ 10330

ช่องทางส่งเอกสาร

  1. ทางไปรษณีย์
  2. อีเมล: Rawipa.P@chula.ac.th หรือ Parinyanoot.k@chula.ac.th
  3. นำจดหมายมาพร้อมกับผู้ขอเข้าศึกษาในวันนั้น ๆ
  • การขอเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พืช/ห้องนิทรรศการ/เรือนรวบรวมพรรณไม้
    • นัดหมายล่วงหน้า ตามวัน-เวลาที่สะดวกและเหมาะสมในการเข้ามาใช้บริการพิพิธภัณฑ์พืช
      โทรศัพท์: 0-2218-5502-3 หรืออีเมล: Parinyanoot.k@chula.ac.th
  • ส่งบันทึกข้อความหรือจดหมายจากหน่วยงาน เพื่อขออนุญาตเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พืช โดยระบุรายละเอียดหน่วยงาน จำนวนคน วัน-เวลา ระดับชั้นของผู้เข้าชม และชื่อพร้อมเบอร์โทรศัพท์ผู้ประสานงาน มาตามที่อยู่ ดังนี้

เรียน         คณบดีคณะวิทยาศาสตร์

                                คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                                254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน

                                กรุงเทพฯ 10330

ช่องทางส่งเอกสาร

  1. ทางไปรษณีย์
  2. อีเมล: Rawipha.P@chula.ac.th หรือ Parinyanoot.k@chula.ac.th
  3. นำจดหมายมาพร้อมกับผู้ขอเข้าศึกษาในวันนั้น ๆ
  • การค้นข้อมูลหรือสอบถามข้อมูลพรรณไม้
    • สามารถเข้ามาติดต่อโดยตรงที่หน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-16.00 น.
    • ทางโทรศัพท์: 0-2218-5502-3
    • ทางอีเมล: Parinyanoot.k@chula.ac.th
  • การตรวจระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของพรรณไม้และทำ voucher specimen (ตัวอย่างสำหรับใช้อ้างอิง)
    • การเตรียมตัวอย่างพืช - ตัวอย่างพืชที่นำมาทำ voucher specimen ต้องเป็นกิ่งหรือต้นที่สมบูรณ์ มีโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ซึ่งจำเป็นต่อการ identify เช่น ดอกและผล (พืชดอก), ใบและโคนเพศผู้ (male cone)-โคนเพศเมีย (female cone) สำหรับกลุ่มพืชเมล็ดเปลือย, ใบที่สร้างสปอร์ (เฟิร์น), สปอร์โรไฟต์ (ไบรโอไฟต์) เป็นต้น
    • แจ้งล่วงหน้า เพื่อนัดหมายวัน-เวลาที่สะดวกและเหมาะสมในการนำตัวอย่างพืชมาทำ voucher specimen (อาจเป็นตัวอย่างสดหรือตัวอย่างพืชที่อัดแห้งมาแล้วก็ได้) โทรศัพท์: 0-2218-5502-3 อีเมล: Parinyanoot.k@chula.ac.th
    • นำตัวอย่างพืชเข้ามาส่งที่หน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทย ห้อง 418 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำ voucher specimen เช่น ชื่อผู้เก็บตัวอย่าง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ), ที่อยู่, หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้, E-mail, ชื่อไทยหรือชื่อท้องถิ่น, วันที่และสถานที่เก็บตัวอย่าง
    • ติดต่อคุณธเนศ จิระพรประเสริฐ ทางอีเมล: Tanet.j@gmail.com เพื่อดำเนินการเรื่องเอกสารการขอรับบริการวิเคราะห์และทดสอบ และค่าใช้จ่าย
    • กระบวนการทำ voucher specimen จะใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ เมื่อเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จะส่งใบรายงานผล และภาพถ่ายของ voucher specimen (หากต้องการ) ให้ตามอีเมลที่แจ้งไว้