ชื่อโครงการ  (ภาษาไทย) : การส่งเสริมความรู้เชิงนิเวศของพืชเพื่อการท่องเที่ยวและห้องเรียนธรรมชาติบนเกาะสีชัง


ชื่อโครงการ  (ภาษาอังกฤษ) : The encouragement of plant ecological knowledge for tourism on Koh Sichang

กิจกรรมถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชน

เกาะสีชังมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกลางทะเลประกอบด้วย 9 เกาะพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาโขดหิน ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่ราบทำการเพาะปลูกได้ประมาณ 500 ไร่ ไม่มีแม่น้ำลำธารและหนองบึง บริเวณจุดสูงสุดคือบริเวณยอดเขาพระจุลจอมเกล้าซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสีชังมีความสูงประมาณ 192 เมตร จากระดับน้ำทะเล ด้วยเหตุนี้ทำให้พืชที่เจริญบนเกาะสีชังส่วนใหญ่เป็นพืชทนแล้ง เช่น ลั่นทม สลัดได จันทน์ผา เสมา และลิ้นมังกร เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านี้มีการปรับตัวให้เจริญเติบโตสวยงามและมีความสมบูรณ์ในธรรมชาติ แต่เมื่อมีการพัฒนาผังเมืองและการท่องเที่ยวทำให้ประชาชนเจ้าของพื้นที่และผู้ประกอบการมีการบุกเบิกพื้นที่เพื่อเปลี่ยนเป็นที่พักอาศัย หรือร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการตัดและทำลายพืชทนแล้งที่สำคัญของเกาะสีชังไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ "ต้นจันทน์ผา (Dracaena cochinchinensis (Lour.) S.C.Chen)" ซึ่งเป็นพืชทนแล้งที่เจริญเติบโตช้าและมีราคาแพง ได้รับผลกระทบและมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปริมาณลดน้อยลง และอาจจะมีการลักลอบตัดเพื่อนำไปขายในตลาดไม้ประดับ

ดังนั้นเพื่อเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่สำคัญของเกาะสีชังให้กับประชาชนชาวเกาะสีชัง และนักท่องเที่ยวทั่วไป ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเทศบาลตำบลเกาะสีชัง ภายใต้การประสานงานของ ดร. (กิตติมศักดิ์) สท.ประกิจ หมื่นศรี ได้จัดกิจกรรม “โครงการปลูกป่า (ต้นจันผา) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแต่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)” ในวันพฤหัสที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561 ณ บริเวณทางขึ้นรอยพระพุทธบาทจำลอง รัชกาลที่ 5 โดยมี นายกิตติพงษ์ กิตติคุณ นายอำเภอเกาะสีชัง เป็นประธานในการปลูกต้นจันผา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นนิสิตจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ ชาวบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน