กกเหง้าเลื้อย

กกเหง้าเลื้อย

Fimbristylis cinnomometorum (Vahl) Kunth

วงศ์ CYPERACEAE

ไม้ล้มลุก อายุปีเดียวหรือหลายปี เหง้าเกาะเลื้อย ลำต้นเป็นเส้นผอม ขึ้นเป็นกอหรือกระจายตัวห่างๆ สูง 20-40 เซนติเมตร ผิวลำต้นเรียบ ใบรูปเส้นด้าย ยาว 4-38 เซนติเมตร กว้าง 0.4-0.7 มิลลิเมตร ปลายแหลม เป็นร่องตามยาว ขอบใบม้วนเข้า กาบใบยาว 1.5-5 เซนติเมตร ปลายตัดและมีขนครุย ลิ้นใบเป็นพู่ขนสีขาวสั้น ช่อดอกขนาด 2-7 เซนติเมตร มีวงใบประดับลักษณะคล้ายใบ 2-3 ใบรองรับ ยาว 1-5 เซนติเมตร มีช่อดอกย่อย 10-90 ช่อ ช่อดอกย่อยรูปใบหอก แบน ขนาด 4-8 x 1.2-1.5 มิลลิเมตร กาบช่อย่อย 6-10 กาบ รูปไข่ถึงเป็นรูปไข่แคบ ปลายเรียวแหลม ขอบบางเป็นเยื่อ สีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลแดงเข้ม เกสรเพศผู้ 3 อัน ผลแบบผลแห้งมีเมล็ดเดียว รูปทรงสามเหลี่ยมหรือกึ่งทรงกระบอก

ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม พบขึ้นในบริเวณทุ่งหญ้าชื้นแฉะ

4 Blachia2

กระชิด

Blachia siamensis Gagnep.

วงศ์ EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่นๆ: ขี้แรด (ประจวบคีรีขันธ์)

ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ ขนาด 1.5-5.5 x 0.7-3 เซนติเมตร ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกเป็นดอกแยกเพศและอยู่ต่างต้น ก้านดอกผอมยาว ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ออกที่ซอกใบ ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม ฐานดอกมีต่อม 5 ต่อม กลีบดอก 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม เกสรเพศผู้ 14-21 อัน ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยง 5-7 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม มีขนที่ปลายกลีบ ไม่มีกลีบดอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปเกือบกลม หยักเป็น 3 พู ก้านเกสรเพศเมีย 3 อัน ยอดเกสรเพศเมียหยักเป็น 2 แฉก ผลแบบผลแห้งแตกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนมี 1 เมล็ด

ออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม

3 Aristolochia

กระเช้าถุงทอง

Fimbristylis cinnomometorum (Vahl) Kunth

วงศ์ CYPERACEAE

ไม้ล้มลุก อายุปีเดียวหรือหลายปี เหง้าเกาะเลื้อย ลำต้นเป็นเส้นผอม ขึ้นเป็นกอหรือกระจายตัวห่างๆ สูง 20-40 เซนติเมตร ผิวลำต้นเรียบ ใบรูปเส้นด้าย ยาว 4-38 เซนติเมตร กว้าง 0.4-0.7 มิลลิเมตร ปลายแหลม เป็นร่องตามยาว ขอบใบม้วนเข้า กาบใบยาว 1.5-5 เซนติเมตร ปลายตัดและมีขนครุย ลิ้นใบเป็นพู่ขนสีขาวสั้น ช่อดอกขนาด 2-7 เซนติเมตร มีวงใบประดับลักษณะคล้ายใบ 2-3 ใบรองรับ ยาว 1-5 เซนติเมตร มีช่อดอกย่อย 10-90 ช่อ ช่อดอกย่อยรูปใบหอก แบน ขนาด 4-8 x 1.2-1.5 มิลลิเมตร กาบช่อย่อย 6-10 กาบ รูปไข่ถึงเป็นรูปไข่แคบ ปลายเรียวแหลม ขอบบางเป็นเยื่อ สีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลแดงเข้ม เกสรเพศผู้ 3 อัน ผลแบบผลแห้งมีเมล็ดเดียว รูปทรงสามเหลี่ยมหรือกึ่งทรงกระบอก

ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม พบขึ้นในบริเวณทุ่งหญ้าชื้นแฉะ

1 Drynaria

กระแตไต่ไม้

Drynaria quercifolia (L.) J. Sm.

วงศ์ POLYPODIACEAE

ชื่ออื่นๆ: กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี) กูดขาฮอก ใบหูช้าง สะไบนาง (กาญจนบุรี) หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์)

เฟิร์นอิงอาศัยหรือขึ้นบนหิน ลำต้นเกาะเลื้อย มีเกล็ดคลุมแน่นทั่วไป เกล็ดสีน้ำตาลเข้ม โคนกลม ปลายเรียวยาวคล้ายหาง ใบประกบต้นรูปไข่ ไม่มีก้านใบ กว้างและยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ขอบหยักเว้าตื้นเป็นแฉก ปลายแฉกมนถึงแหลม ใบที่สร้างอับสปอร์ มีก้านใบสีเหลืองซีด มีปีกแคบตลอดความยาว โคนก้านใบมีเกล็ดปกคลุม แผ่นใบโดยรวมรูปขอบขนาน ขนาด 80 x 50 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกชิดแกนกลาง แต่ละแฉกปลายแหลมหรือเรียวแหลม ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น เส้นใบเห็นชัดเจนทั้ง 2 ด้าน เนื้อใบเหนียว ผิวใบเกลี้ยง สีเขียวอ่อน เป็นมัน กลุ่มอับสปอร์กลมถึงรูปขอบขนาน เรียงเป็น 2 แถวระหว่างเส้นใบหลัก

2 Argyreia2

กระสอบ

Argyreia collinsae (Craib) Na Songkhla & Traiperm

วงศ์ CONVOLVULACEAE

ชื่ออื่นๆ: จิงโจ้ (กรุงเทพฯ) จิงจ้อ (นครสวรรค์) ดอกกระสอบ (ประจวบคีรีขันธ์)

ไม้เถาเนื้อแข็ง มียางขาว เถามีขนสีน้ำตาล กิ่งที่ยังอ่อนขนสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองอ่อน ใบเรียงสลับ รูปหัวใจหรือรูปกลม ขนาด 5-8.5 x 4-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ก้านใบมีขนแข็งปกคลุม ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปรี ร่วงง่าย ดอกสีม่วงแดง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ขนาดไม่ท่ากัน คงทนและขยายใหญ่เมื่อเป็นผล กลีบดอกรูประฆัง ปลายกลีบผายกว้างออกและหยักตื้นเป็น 5 แฉก มีแถบเส้นกลางกลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน จานฐานดอกรูปถ้วยล้อมรอบรังไข่ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลแบบผลมีเนื้อ สีแดงเข้ม มี 4 เมล็ด

ออกดอกระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน

3 Polyalthia

กะเจียน

Polyalthia cerasoides (Roxb.) Bedd. ex Bedd.

วงศ์ ANNONACEAE

ชื่ออื่นๆ: พญารากดำ (ชลบุรี) แคหาง (ราชบุรี) จันทร์ดง ทรายเด่น(ขอนแก่น) โมดดง (ระยอง) สะบันงาป่า (เหนือ) เหลือง (ลำปาง)

ไม้ต้น สูง 5-12 เมตร ลำต้นเปลาตรง กิ่งออกเกือบตั้งฉากกับต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ที่ปลายกิ่ง รูปรีแกมรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ขนาด 4-10 x 2-3 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมนและเบี้ยว ก้านใบยาว 2-5 มิลลิเมตร ดอกออกเดี่ยวตามซอกใบ สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง ก้านดอกยาว 2-3 เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ ดอกขนาด 1.5-2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงสลับกันเป็น 2 ชั้น ผลออกเป็นกลุ่ม แต่ละผลรูปค่อนข้างกลม ขนาด 6-8 มิลลิเมตร ก้านผลเรียว ยาว 2-3 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดง

ออกดอกเดือนมกราคมถึงเมษายน เป็นไม้ที่ทั้งต้นมีใบดก ให้ร่มเงาได้ดี

2 Passiflora2

กะทกรก

Passiflora foetida L.

วงศ์ PASSIFLORACEAE

ชื่ออื่นๆ: ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี) เคือขนตาช้าง (ศรีสะเกษ) ผักแคบฝรั่ง (เหนือ) กระโปรงทอง (ใต้) หญ้ารกช้าง (พังงา)

ไม้เถาเนื้ออ่อน อายุหลายปี มีมือพัน ใบเรียงสลับ ขนาด 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบหยักเว้าเป็น 3 แฉก ปลายแฉกแหลม โคนใบกึ่งรูปหัวใจ ผิวใบมีขนสากหยาบปกคลุม ใบประดับจักเป็นฝอย ที่ปลายจักมีต่อม ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบแยกกัน สีขาวหรือสีขาวอมม่วง มีกะบังรอบเป็นเส้นยาวเรียงเป็นวง แผ่ออกจากกลางดอกตามแนวรัศมี เกสรเพศผู้ 5 อัน และรังไข่รูปไข่ อยู่บนก้านชูเกสรร่วม ผลสีเหลืองถึงสีส้ม รูปเกือบกลม ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร มีใบประดับติดทนหุ้มอยู่ เมล็ดจำนวนมาก ล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อฉ่ำน้ำ กินได้ รสเปรี้ยวอมหวาน

ออกดอกและผลช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

2 Pteris

กูดหมาก

Pteris vittata L.

วงศ์ PTERIDACEAE

ชื่ออื่นๆ: กูดตาด (เชียงใหม่)

เฟิร์นขึ้นบนดิน ลำต้นสั้น ตั้งตรง มีเกล็ดปกคลุม เกล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปยาวแคบ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ใบเรียงเวียนออกเป็นกอ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปใบหอกกลับ ก้านใบยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร ที่โคนมีขนปกคลุมหนาแน่น ใบย่อยไม่มีก้าน ใบย่อยทางด้านโคนใบขนาดเล็กลงตามลำดับจนเป็นติ่งใบ ใบย่อยทางด้านบนถึงปลายใบรูปแถบ ขนาด 15 x 0.8-1.2 เซนติเมตร โคนรูปหัวใจ ปลายเรียวแหลมแกมยาวคล้ายหาง ขอบใบขณะที่ไม่สร้างอับสปอร์จักฟันเลื่อย ใบย่อยที่ปลายสุดยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร แกนกลางใบด้านบนเป็นร่อง มีเกล็ดขนาดเล็กปกคลุม เส้นใบแตกเป็นง่าม ปลายแยกเป็นอิสระ กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ขอบใบตลอดความยาวของใบย่อย ขอบใบบางและสีซีดพับคลุมกลุ่มอับสปอร์

2 Manilkara3

เกด

Manilkara hexandra (Roxb.) Dubard

วงศ์ SAPOTACEAE

ไม้ต้น สูง 15-25 เมตร ทุกส่วนมียางขาว ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปรีแกมไข่กลับ ขนาด 5-12 x 2.5-6 เซนติเมตร ปลายใบนกว้างและหยักเว้า โคนสอบเรียว แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีนวล ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกสั้น ออกตามซอกใบและเหนือรอยแผลก้านใบหลุด ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบดอกเชื่อมกันเล็กน้อยที่โคน ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 6 แฉก เกสรเพศผู้สมบูรณ์และเกสรเพศผู้เป็นหมันอย่างละ 6 อัน เรียงสลับกัน ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงรีหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายผลมีติ่งแหลม ผลสุกสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อนุ่ม กินได้ มี 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง รูปไข่

อกดอกและติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

3 Ficus-super

ไกร

Ficus superba (Miq.) Miq. var. superba

วงศ์ MORACEAE

ชื่ออื่นๆ: ไทรเลียบ (ประจวบคีรีขันธ์) โพไทร (นครราชสีมา)

ไม้ต้นผลัดใบ สูง 8-10 เมตร มียางขาว ทุกส่วนเกลี้ยงยกเว้นหูใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือมน ขอบเป็นคลื่นหรือเรียบ ก้านใบยาว 8-10 เซนติเมตร หูใบ 2 อันประกบกันหุ้มยอดอ่อน สีชมพู ร่วงง่าย ช่อดอกออกเป็นคู่ตรงซอกใบหรือเหนือรอยก้านใบร่วง มีฐานรองดอกขยายใหญ่เป็นกระเปาะรูปค่อนข้างกลม มีรูเปิดที่ปลาย ดอกขนาดเล็กมาก แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ภายในกระเปาะ ผลเป็นผลรวมแบบผลมะเดื่อ รูปกลมแกมรูปไข่กลับ สีชมพู ภายในมีผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง ขนาดเล็ก จำนวนมาก

ออกดอกและติดผลระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน