Image_176b88e

หญ้าพุ่งชู้

Chrysopogon orientalis (Desv.) A.Camus

วงศ์ GRAMINEAE

ชื่ออื่นๆ: หญ้าข้าวนกเขา (ประจวบคีรีขันธ์)

ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ขึ้นเป็นกอ สูง 35-140 เซนติเมตร แผ่นใบรูปแถบ ยาว 5-25 เซนติเมตร กว้าง 2-8 มิลลิเมตร ปลายแหลมทู่ ลิ้นใบสั้นมาก เป็นขนครุยเล็ก ๆ ช่อดอกเป็นช่อแยกแขนง ยาว 7-20 เซนติเมตร แต่ละแขนงเป็นผอมเรียว ที่ปลายมีขนเคราสีแดง ดอกในช่อโปร่ง ช่อดอกย่อยมี 2 แบบ ช่อดอกย่อยแบบที่ไม่มีก้านรูปใบหอกแคบ รวมรยางค์แข็งแล้วยาว 2.5-3มิลลิเมตร กาบช่อย่อยบนและกาบดอกบนมีรยางค์แข็ง ยาว 1.3-1.7 และ 4-7เซนติเมตร ตามลำดับ ช่อดอกย่อยแบบที่มีก้านช่อ ก้านช่อยาว 7-11 มิลลิเมตร กาบช่อย่อยล่างมีรยางค์แข็ง ยาว 7-14 มิลลิเมตร ผลแบบผลแห้งเมล็ดติด

ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม

1 Cyanotis2

หญ้าหัวรากน้อย

Cyanotis cristata Roem. & Schult.

วงศ์ COMMELINACEAE

ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว ลำต้นเกาะเลื้อย แตกสาขามาก ยาว 10-35 เซนติเมตร ตามลำต้นและกาบใบมีขนยาว ใบเรียงเวียน ออกห่าง ๆ ตามลำต้นแผ่นใบรูปขอบขนาน รูปใบหอก รูปไข่ หรือรูปรีแคบ ขนาด 2-8 x 0.5-1.2 เซนติเมตร ผิวใบเรียบเกลี้ยง ช่อดอก 1-2 ช่อหรือออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ใบประดับช่อดอกคล้ายใบ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ดอกสีน้ำเงินอมม่วง กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เชื่อมติดกันที่โคน เกสรเพศผู้ 6 อัน ขนาดเท่ากัน ก้านชูอับเรณูยาวกว่ากลีบดอกมาก มีขนยาวสีน้ำเงิน อับเรณูสีเหลืองเข้ม ผลแบบผลแห้งแก่แล้วแตก มี 3 ช่อง ช่องละ 2 เมล็ด

ออกดอกเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม

1 Setaria_verti

หญ้าหางกระรอก

Setaria verticillata (L.) P. Beauv.

วงศ์ GRAMINEAE

ชื่ออื่นๆ: หญ้าโขมง (กาญจนบุรี) หญ้าคาย (เชียงใหม่) หญ้าหมาติดเก้ง (สิงห์บุรี)

ไม้ล้มลุกปีเดียว สูง 20-120 เซนติเมตร ลำต้นตั้งหรือทอดเลื้อยแล้วชูยอดขึ้น มักแตกกิ่งที่ข้อช่วงโคนถึงกลางต้น ปล้องกลวง ผิวเรียบเกลี้ยง ใบเรียงสลับ รูปแถบ ยาว 15-30 เซนติเมตร กว้าง 9-12 มิลลิเมตร ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบมีขนสากคายทั้งสองด้าน ลิ้นใบบางเป็นเยื่อ ขอบเป็นขนครุย กาบใบยาวหรือสั้นกว่าปล้อง ไม่มีขน ช่อดอกออกที่ปลายยอด เป็นช่อแยกแขนง มีดอกในช่อหนาแน่น รูปทรงกระบอกแคบ ขนาด 11-15 x 1-2.5 เซนติเมตร แต่ละแขนงมี 6-8 ช่อดอกย่อย ช่อดอกย่อยเรียงตัวบนแขนงอยู่ด้านเดียว แต่ละช่อทรงรีหรือทรงรูปไข่ ยาว 1.6-2 มิลลิเมตร และมีรยางค์แข็งเป็นเส้นยาว 5-6 มิลลิเมตรรองรับดอกสมบูรณ์เพศ ผลแบบผลแห้งเมล็ดติด รูปไข่ ขนาดประมาณ 1.3-1.5 x 1มิลลิเมตร

ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม และเป็นผลระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน

2 Stemona_tub2

หนอนตายหยาก

Stemona tuberosa Lour.

วงศ์ STEMONACEAE

ชื่ออื่นๆ: กะเพียด (ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี)

ไม้เถาล้มลุก กิ่งที่กำลังจะออกดอกมักเลื้อยพัน รากออกเป็นกระจุกคล้ายกระชาย ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม อาจพบเรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ ขนาด 6-12 4-7 เซนติเมตร ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบเป็นคลื่น เห็นเส้นใบชัดเจน ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 1-3 ดอก ออกที่ซอกใบ ใบประดับรูปใบหอก กลีบรวม 4 กลีบ ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีแดง ปลายกลีบเรียวแหลม เกสรเพศผู้ 4 อัน ชูเหนือกลีบดอก ผลเป็นผลแห้งแก่แล้วแตก ทรงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน มีเมล็ด 2-3 เมล็ด

ออกดอกเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม

2 Cap-sepiaria4

หนามวัวซัง

Capparis sepiaria L.

วงศ์ CAPPARACEAE

ชื่ออื่นๆ: วัวซัง หางนกกะลิง (สุโขทัย) หางนกกี้ (เลย) หนามเกี่ยวไก่ (กลาง) ผีไหว้ดาด (สงขลา)

ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม มีหนามเล็กยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ออกตามข้อและโคนใบ ปลายโค้งลง ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ขนาด 2.5-7 x 1.5-4 เซนติเมตรปลายและโคนใบมน ช่อดอกคล้ายช่อซี่ร่ม ออกตามปลายกิ่งและซอกใบ ดอกในช่อ 7-15 ดอก ก้านดอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกตูมรูปกลม ขนาด 2-3 มิลลิเมตร กลีบดอกสีขาว มี 4 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลกลม ขนาด 6-10มิลลิเมตร

ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ พบขึ้นตามที่ค่อนข้างแห้งแล้ง

1 Mucuna2

หมามุ่ย

Mucuna pruriens (L.) DC.

วงศ์ LEGUMINOSAE–PAPILIONOIDEAE

ชื่ออื่นๆ: บะเหยือง หมาเหยือง (เหนือ)

ไม้เถาล้มลุก ทุกส่วนมีขน เถาเป็นเหลี่ยม กว้าง 2-4 มิลลิเมตร ใบเป็นใบประกอบที่มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบกลางรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขนาด 8-10 x 6-8 เซนติเมตร ใบย่อยด้านข้างอีก 2 ใบ รูปไข่เบี้ยว ขนาดใกล้เคียงกับใบย่อยใบกลาง แผ่นใบบางและมีขนแนบผิวใบทั้ง 2 ด้าน ช่อดอกห้อยลง ทั้งช่อยาว 20(-50) เซนติเมตร กว้าง 6-7 เซนติเมตร ดอกในช่อแบบรูปดอกถั่ว เรียงตัวรอบแกนช่อค่อนข้างแน่น สีม่วงคล้ำเกือบดำ ดอกรูปทรงกระบอกแกมรูปกรวย ขนาด 3-4 x 1-1.3 เซนติเมตร ผลหรือฝักรูปทรงกระบอก คดเล็กน้อย ขนาด มีขนสีน้ำตาลทองคลุมหนาแน่น ขนที่ฝักทำให้เกิดอาการระคายและคัน

ออกดอกเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ฝักแก่เดือนธันวาคมถึงมกราคม พบมากทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณทุ่งหญ้า

1 Litsea

หมีเหม็น

Litsea glutinosa (Lour.) C.B.Rob.

วงศ์ LAURACEAE

ชื่ออื่นๆ: ตังสีไพร (พิษณุโลก) หมูทะลวง (จันทบุรี) หมูเหม็น (แพร่) อีเหม็น (กาญจนบุรี ราชบุรี)

ไม้ต้น สูง 7-8 เมตร กิ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กลับ ปลายกลมมน โคนแหลมหรือรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนมีขนประปราย ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกออกที่ซอกใบ เป็นช่อกระจะเชิงประกอบ มีช่อย่อยแบบช่อซี่ร่ม มีดอก 4-5 ดอก ใบประดับ 4 ใบ โค้งงุ้มคล้ายกลีบดอก เรียงเป็น 2 วง มีขนทั้ง 2 ด้าน ดอกเพศผู้ กลีบรวมรูปขอบขนาน เชื่อมกันสั้น ๆ ที่โคนกลีบ กลีบบางและมีขน จำนวน 1-3 กลีบหรือไม่มีกลีบรวม เกสรเพศผู้ 9-15 อัน ก้านชูอับเรณูมีขน อับเรณูมีฝาเปิด ดอกเพศเมียไม่มีวงกลีบรวม รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง ทรงกลม ขนาด 8-9 มิลลิเมตร

ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงสิงหาคม

2 Premna3

หมูหมัน

Premna latifolia Roxb. var. latifolia

วงศ์ LABIATAE

ชื่ออื่นๆ: มันพร้าว (เหนือ)

ไม้ต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ กิ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ ปลายเรียวแหลม โคนตัดตรงหรือมนแล้วแหลมสั้นๆ ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขนปกคลุมทั้งสองด้านแต่ด้านล่างหนาแน่นกว่า ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง มีขนหนาแน่น กลีบเลี้ยงรูปถ้วย กลีบดอกปลายหยักเป็น 5 แฉกเกสรเพศผู้ 4 อัน แบบสั้น 2 อัน ยาว 2 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปกลม มีกลีบเลี้ยงติดทนรองรับ ผิวผลอาจพบเป็นปุ่มปม

ออกดอกช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน

1 Delonix2

หางนกยูงฝรั่ง

Delonix regia (Hook.) Raf.

วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ชื่ออื่นๆ: อินทรี (กลาง) ส้มพอหลวง (เหนือ) หงอนยูง (ใต้)

ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่ม เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง สีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงเวียน ใบยาว 40-50 เซนติเมตร ใบย่อยรูปขอบขนาน ขนาด 8-10 x 3-4 มิลลิเมตร ปลายมน โคนเบี้ยวเล็กน้อย มักผลัดใบทั้งต้นหรือเกือบทั้งต้น แล้วจึงออกดอกพรูพร้อมกันทั้งหมด ช่อดอกขนาดใหญ่ ออกตามปลายกิ่งและข้างกิ่ง ช่อละ 5-10 ดอก ดอกขนาดใหญ่ มีกลีบดอก 5 กลีบ สีแดง สีแสดแกมแดง สีส้มและสีเหลือง (ที่สีชังพบเฉพาะดอกสีแสดแกมแดง) ฝักแบน ขนาดใหญ่ ขนาด 30-60 x 4-5 เซนติเมตร ฝักแก่สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เปลือกแข็งมาก เมล็ดรูปขอบขนาน มี 20-40 เมล็ด เรียงตามขวางในแต่ละฝัก

ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม

1 Terminalia2

แหนนา

Terminalia glaucifolia Craib

วงศ์ COMBRETACEAE

ชื่ออื่นๆ: แหนนก (กลาง, เหนือ) ตีนนก (นครราชสีมา ปราจีนบุรี) หางแหน (บุรีรัมย์) แหน แหนขี้นก (เหนือ)

ไม้ต้น สูงถึง 20 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ กิ่งมักลู่ลงเล็กน้อย ใบเดี่ยว เรียงเวียน ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบค่อนข้างหนา รูปไข่กลับหรือรูปรี ขนาด 10-21 x 6.5-8.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบเรียบไม่มีขน ด้านบนสีเขียว ด้านล่างมีนวล ก้านใบค่อนข้างยาว ปกติมีต่อมอยู่ตรงกลางหรือใกล้โคนใบ ช่อดอกออกที่ซอกใบ ยาวประมาณ 12-17 เซนติเมตรดอกมีสีเหลืองนวล เรียงชิดแน่นในช่อดอก ดอกบานมีกลิ่นเหม็น ผลเป็นผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว มีปีกตามแนวยาว 2 ปีก ผลรูปร่างกลมหรือรี ขนาด 3.5-5 x 2.5-5 เซนติเมตร

ออกดอกระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ติดผลเดือนตุลาคมถึงธันวาคม