1 Selaginella2

ผักควา

Selaginella ostenfeldii Hieron

วงศ์ SELAGINELLACEAE

ไม้ล้มลุก ขึ้นบนดิน ลำต้นทอดเลื้อย เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร มีใบขนาดเล็กคล้ายเกล็ดปกคลุมหนาแน่น สีน้ำตาล รูปขอบขนาน ปลายกลม ขอบเป็นชายครุย ลำต้นหลักตั้งตรง แตกแขนง ยาวเหนือพื้นดิน 15-50 เซนติเมตร แขนงแต่ละด้านแตกสาขาเป็นรูปใบประกอบสามชั้น ใบด้านบน (ventral leaves) แผ่กางออกจากกิ่ง รูปขอบขนานแกมรูปสี่เหลี่ยม โค้งเป็นรูปเคียว ปลายแหลม โคนกึ่งรูปหัวใจ ขอบใบม้วน มีขนขนาดเล็กมาก แผ่นใบสีเขียวถึงเขียวเข้ม ใบด้านล่าง (dorsal leaves) รูปไข่แคบ ปลายเรียวแหลม โคนใบกลมถึงรูปลิ่ม ขอบใบมีขนครุย กลุ่มอับสปอร์คล้ายช่อเชิงลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 มิลลิเมตร ใบที่สร้างอับสปอร์รูปไข่ ปลายเรียวแหลมยาว มีขนครุยหนาแน่น

2 Ipomoea-pes-cap

ผักบุ้งทะเล

Ipomoea pes-caprae (L.) R. Br.

วงศ์ CONVOLVULACEAE

ไม้เลื้อย ลำต้นทอดไปตามพื้นดิน มียางขาว ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่กลับ รูปกลม รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไต ปลายเว้า โคนรูปหัวใจ ตัดตรงหรือมน หรือเป็นรูปลิ่มสั้นๆ แผ่นใบหนา ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ มี 1-10 ดอก ใบประดับร่วงง่าย ดอกสีชมพูหรือสีม่วงแดง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยแล้วผายออกกว้าง ปลายสุดเว้าเป็น 5 แฉก มีแถบเส้นกลางกลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน เชื่อมติดกับโคนหลอดกลีบดอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลแบบผลแห้งแตก รูปกลมหรือกลมแบน สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดมี 4 เมล็ด

ออกดอกตลอดปี มักขึ้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดินตามชายหาดและบริเวณใกล้ทะเล และจากการทดลองทางสรีรวิทยาพบว่า ผักบุ้งทะเลที่ขึ้นในบริเวณพระจุฑาธุชราชฐาน มีความทนเค็มมากกว่าที่ขึ้นบนชายหาดแม่พิมพ์ จังหวัดระยอง